Week7

WEEK 7

                          
                              19 - 23/กันยายน/2559

19/กันยายน/59                                      

วันนี้เด็กๆ ตื่นเต้นและรอคอยมาก กับการแสดงละครเพื่อปรับพฤติกรรมของผู้ปกครองน้องอนุบาล 1 หลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จแล้วเด็กๆ เดินสำรวจธรรมชาติปฏิสัมพันธ์กับโลกแวดล้อม ระหว่าที่เดินยุนั้นเด็กๆ ถามตลอดทางว่า “วันนี้ผู้ปกครองจะแสดงเรื่องอะไรค่ะ อยากดูจังเลย มีใครบ้างค่ะ จะได้ดูตอนไหนครับ” ซึ่งแต่ละคำถามแสดงว่าเด็กๆ ตั้งใจและรอคอยอยากให้ถึงเวลานั้นอย่างรวดเร็ว เด็กๆ ดูละครเรื่อง “หนูจี๊ดไม่มีระเบียบ” เด็กๆ หัวเราะชอบใจสนุกสนาน จากนั้นเป็นกิจกรรมจิตศึกษา เด็กๆ มีสมาธิจิตจดจ่อกับสิ่งที่ทำโดยการบรรจงใช้มือฉีกใบตองอย่างประณีตพยายามไม่ให้พี่เขาขาด ฝึกกล้ามเนื้อมือให้ประสานสัมพันธ์กับตา กิจกรรม PBL ในวันนี้เด็กๆ เรียนรู้เรื่อง “การละเล่นพื้นบ้าน” ครูและเด็กๆ ช่วยกันระดมความคิดว่าการละเล่นพื้นบ้านมีอะไรบ้าง เล่นอย่างไร เด็กๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานผ่านการวาดภาพระบายสี



20/กันยายน/59

กิจกรรมจิตศึกษาในวันนี้ เด็กๆ ฉีกกระดาษตามรูปภาพที่ครูมีให้อย่างตั้งใจโดยที่ภาพนั้นไม่ขาดเลย ฝึกกล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา สำหรับกิจกรรม PBL วันนี้เด็กๆ เล่นการละเล่นพื้นบ้าน นั้นคือปิดตาทายชื่อ/วิ่งเปี้ยว/มอญซ้อนผ้า เด็กๆ ได้ใช้ประสาทสัมผัสอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตา “พี่ข้าวหอมจับพี่จินจูได้แล้วทายถูกเพราะใช้จมูกดมกลิ่น จึงรู้ว่าเป็นพี่จินจู พี่กรใช้มือจับสัมผัสและรวมกับการสังเกตเห็นการแต่งตัวของเพื่อนเมื่อเช้าจึงตอบถูกว่าเป็นพี่อุ้ม” เด็กๆ หลายคนสามารถทายชื่อเพื่อนได้ถูกจากการสังเกต การจับสัมผัสส่วนต่างๆ การดมกลิ่น การฟังเสียง เป็นความงอกงามที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก จากนั้นเด็กๆ เรียนคณิตศาสตร์ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและลดลง ถ่ายทอดผลงานออกมาเป็นความประทับใจเหตูการณ์ในนิทานที่ได้ฟัง






21/กันยายน/59

กิจกรรมโยคะในวันนี้เด็กๆ ทำได้ดีในทุกๆ ท่า ทั้งท่ายืน นั่ง นอน จากนั้นเป็นกิจกรรม PBL หลักของเด็กๆ คือการเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ครูพาเด็กๆ เล่น “รีรีข้าวสาร” เด็กๆ เล่นอย่างสนุกสนาน รู้จักการรอคอย รู้กฎกติกาในการเล่น ทำตามข้อตกลงร่วมกัน รู้จักการแบ่งหน้าที่และทำให้เกิดความสามัคคี เด็กๆ ได้รู้จักกับการละเล่นพื้นบ้านมากมาย ซึ่งหลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็กๆ ได้ช่วยกันระดมความคิดว่าการละเล่นพื้นบ้านมีอะไรบ้างและมีวิธีการเล่นไหน ในช่วงบ่ายได้ตรวจการบ้านและติดสื่อสารให้กับเด็กๆ เป็นสื่อสารในกิจกรรมผู้ปกครองอาสามาร่วมสร้างการเรียนรู้ในเรื่องของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ “ม้าก้านกล้วย เดินกะลา”และสื่อสารห่อข้าว เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การแบ่งปันและเห็นคุณค่าของอาหารที่รับประทานเลือกทานอาหารที่หลากหลายและครบทุกสารอาหาร จากนั้นได้ทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้มาทั้งวัน ทบทวนการบ้านให้กับเด็กๆ




22/กันยายน/59

วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม  มีลมเย็นๆ พัดผ่านเด็กๆ มาโรงเรียนไม่เยอะมากเนื่องจากฝนตก กิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะในวันนี้มีพี่ๆ มัธยมมาร่วมสร้างการเรียนรู้ให้กับน้องๆ นั้นคือแสดงละครและการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เด็กสนุกสนานกันแต่เช้าถึงบรรยากาศจะไม่เป็นใจแต่เด็กๆ ก็มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากกิจกรรมของพี่ๆ มัธยม จากนั้นเป็นกิจกรรมจิตศึกษาซึ่งมีผู้ปกครองร่วมเรียนรู้ด้วย เด็กๆ ร้อยเชือกจานกระดาษอย่างตั้งใจ การร้อยเชือกทำให้เด็กๆ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้ฝึกการใช้นิ้วมือ การจับ การใช้สายตาจ้องมองประสานสัมพันธ์กัน ต่อด้วยกิจกรรม PBL ซึ่งผู้ปกครองได้สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เป็นของเล่นพื้นบ้านที่มาจากวัสดุธรรมชาติ คือการทำม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย รถก้านกล้วย มีดดาบจากก้านกล้วย เด็กๆ ลงมือทำสิ่งที่ตนเองอยากได้ด้วยตนเอง เช่นรถและปืนก้านกล้วย เมื่อทำเสร็จเด็กๆ ได้เล่นได้เรียนรู้วิธีการทำ แก้ปัญหา และช่วยกันเก็บกวาดบริเวณให้เรียบร้อย




23/กันยายน/59


เด็กๆ เริ่มต้นวันใหม่อย่างมีความหมายด้วยกิจกรรมหน้าเสาธง เคารพธงชาติ ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อม จากนั้นร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะในพื้นที่สีขาว เด็กเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงพื้นบ้านอย่างสนุกสนาน ยิ้ม หัวเราะ แสดงท่าทางต่างๆ อย่างสนุกสนาน จากการสังเกตเห็นเด็กหลายคนที่ยังจีบ-คว่ำ ยังไม่ได้สลับมือซ้าย-ขวา ยังไม่คล่องแต่เด็กๆ มีความพยายามซึ่งเขาก็ทำได้แต่ในเวลาอันน้อยนิด พอเริ่มทำใหม่ก็ลืมว่าต้องทำอย่างไรจึงได้แนะนำ กิจกรรมจิตศึกษาวันนี้ครูได้ฝึกการฟังโดยครูเล่านิทานเด็กๆ ถ่ายทอดสิ่งที่ได้ฟังออกมาเป็นรูปภาพให้เป็นเรื่องราว ซึ่งเด็กๆ ทุกคนถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวออกมาได้อย่างแตกต่าง “พี่อุ้ม หนูตั้งชื่อภาพว่าบ้านดอกไม้ เพราะบ้านหนูมีดอกไม้ มีพี่ปลา หนูชอบพี่กระต่าย หนูไม่ได้วาดพี่สุนัขจิ้งจอกเพราะว่าพี่เขาน่ากลัวและพี่เขาชอบกินปลาค่ะ” กิจกรรมต่อมาคือ PBL เด็กๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน และแตกเว็บการละเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆ ได้เล่นและที่เด็กๆ รู้จัก


                                                   ภาพที่ถ่ายทอดออกมาจากการฟังเรื่องเล่า



                           





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น